สายพานเสื่อม รีบเปลี่ยนก่อนบานปลาย!

วิธีเช็คดูยังไงว่าสายพานไทม์มิ่งเสื่อมและวิธีเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่ง

ไม่ว่าจะสายพานไทม์มิ่ง หรือสายพานสำหรับเครื่องจักรโรงงานอะไรก็ตาม ล้วนมีการเสื่อมสภาพตามเวลาและการใช้งาน หากสามารถรู้ถึงสัญญาณผิดปกติล่วงหน้าของสายพานก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพาน Timing ที่ ก็จะช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสายพานสำหรับโรงงานและเครื่องจักรต่าง ๆ ได้ บทความนี้จะมาแนะนำเกี่ยวกับอาการของสายพานเสื่อม และขั้นตอนการเปลี่ยนสายพานให้ทุกท่านที่ใช้งาน Timing Belt รวมถึงสายพานสำหรับเครื่องจักรโรงงานอื่น ๆ ให้ทุกท่านได้ทราบกัน จะได้รีบเปลี่ยนก่อนที่จะปัญหาจะบานปลาย

ทำความรู้จักส่วนประกอบของสายพาน

ก่อนที่จะทราบเกี่ยวกับอาการสายพานเสื่อม ควรเข้าใจส่วนประกอบของสายพานประเภทต่าง ๆ ก่อน ไม่ว่าจะเป็นสายพานลำเลียง หรือสายพานส่งกำลัง เพื่อให้เห็นภาพรวมว่าทำมาจากวัสดุอะไร ส่วนไหนบอบบางต้องดูแลเป็นพิเศษบ้าง

โดยทั่วไปสายพานสำหรับโรงงานและเครื่องจักรต่าง ๆ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน โดยแต่ละประเภทจะมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน จึงจะขออธิบายแยกกัน ดังนี้

1. สายพานลำเลียง (Conveyor Belt)

ใช้ในการขนย้ายสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยสายพานจะหมุนไปตามลูกล้อ(pulley)และพาเอาสิ่งของที่วางอยู่ด้านบนเคลื่อนที่ไปด้วยกัน สายพานประเภทนี้ทั่วไปที่พบเห็นได้บ่อยๆจะเป็นสายพานแบนและมีรอยต่อ ซึ่งจะนำไปใช้งานในลักษณะที่แตกต่างจากสายพานส่งกำลังชนิดไทม์มิ่งโดยจะมีส่วนประกอบที่รองรับงานลำเลียงขนส่งโดยเฉพาะ โดยมากมักมีส่วนประกอบดังนี้

1.1 ผิวชั้นบน (Top cover) มีหลากหลายวัสดุ เช่น ยาง, PU, PVC, ไนล่อน ฯลฯ โดยส่วนนี้จะสัมผัสกับสิ่งของที่ลำเลียงโดยตรง และยังเป็นส่วนช่วยป้องกันผ้าใบที่อยู่ชั้นใน ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการกระแทก การบาด/ขูด/ขีดจากของมีคมหรือจากสภาพแวดล้อม

1.2 ชั้นผ้าใบ (Fabric carcass) เป็นส่วนที่ทำให้สายพานมีความแข็งแรง รับแรงดึงตามแนวยาวได้ดีโดยไม่ยืดตัวมากนัก ยิ่งจำนวนชั้นผ้าใบมากก็จะรับแรงดึงได้มากขึ้นตามไปด้วย

1.3 Skim Coat เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างชั้นผ้าใบ ทำหน้าที่ยึดผ้าใบแต่ละชั้นไว้ด้วยกัน รองรับแรงกระแทก ป้องกันความชื้นที่จะส่งผ่านไปยังผ้าใบในแต่ละชั้น

1.4 ผิวชั้นล่าง (Bottom Cover) ทำหน้าที่ป้องกันการสึกหรอของผ้าใบ เป็นส่วนที่สัมผัสกับลูกล้อ(pulley)อยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดแรงเสียดทานในการขับเคลื่อนสายพาน

2. สายพานส่งกำลัง (Transmission Belt)

ใช้ในการส่งกำลังจากต้นกำลัง(เพลาขับ) ไปยังเครื่องจักร(เพลาตาม) เป็นตัวกลางสำคัญในการส่งถ่ายกำลังของเครื่องจักรต่างๆ สายพานที่ใช้ส่งกำลังมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภทหลัก ได้แก่ สายพานแบน สายพานกลม สายพานวี และสายพานไทม์มิ่ง (Timing Belt) โดยทั่วไปมักมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้

2.1 ผ้าใบชั้นนอก (Fabric) เป็นผ้าใบทำจากฝ้ายและเคลือบด้วยยางเคมี สามารถทนต่อการเสียดสีได้ดี ป้องกันการสึกหรอและปกป้องโครงสร้างภายในจากสภาวะแวดล้อม เช่น ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ของมีคม ฯลฯ

2.2 เส้นใยรับแรงดึง (Tensile Members) เป็นส่วนรับกำลังที่เกิดขึ้น เพื่อให้สายพานส่งถ่ายกำลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่น และ ต้านทานการยืดของสายพาน

2.3 ยางโครงสร้าง (Elastomer body) นอกจากเป็นโครงสร้างหลักแล้วยังทำหน้าที่รองรับแรงดึงและส่งถ่ายแรงไปยัง tension members

จะเห็นได้ว่าส่วนประกอบในสายพานจะมีทั้งส่วนที่สึกหรอได้ง่าย และส่วนที่มีความคงทน โดยทั่วไปส่วนที่สัมผัสกับเครื่องจักรอย่างลูกล้อ(pulley)หรือสิ่งของโดยตรง มักจะเสื่อมสภาพเร็วกว่าส่วนอื่น ๆ เพราะมีการเสียดสีและรับแรงดึงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นสายพานลำเลียง หรือสายพานส่งกำลัง Timing ก็จะต้องได้รับการดูแลตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ มิฉะนั้นแล้วอาจส่งผลให้เกิดปัญหาบานปลาย ทำให้เครื่องจักรในส่วนอื่นเสียหายได้

อาการเสื่อมของสายพาน

วิธีการสังเกตสายพานที่ง่ายที่สุดคือ การใช้ประสาทสัมผัสของคนเราในการ “ฟัง” “ดู” และ “สัมผัส” โดยต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วน สำรวจในจุดต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ อาการเบื้องต้นที่แสดงว่าสายพานเริ่มเสื่อมมีดังต่อไปนี้

  • มีเสียงดังเกิดขึ้นขณะทำงาน
  • ด้านบนสายพานมีรอยแตกลายงา
  • ด้านล่างสายพานมีรอยแตก
  • สานพานเกิดการสั่นหรือกระตุก
  • สายพานหย่อนจากระดับปกติ
  • ฟันของสายพานร้าว,หลุดหรือสึกหรอ

อาการต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีที่มาจากความเสื่อมของสายพานทั้งสิ้น เช่น การที่มีเสียงดังเกิดขึ้นก็เป็นไปได้ว่าฟันสายพานสึกหรอจากการใช้งานมาเป็นเวลานาน หรือการที่สายพานมีรอยแตกลายงาแสดงว่าเสื่อมสภาพหมดอายุการใช้งานแล้ว เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาบานปลายไปยังส่วนอื่น ควรเปลี่ยนเส้นใหม่ทดแทน

บางอาการก็อาจไม่ได้เกิดจากความเสื่อมสภาพหรือหมดอายุของสายพาน แต่เกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด เช่น ฟันของสายพาน Timing หายไป หรือที่เรียกกันว่าฟันหลอ อาจเกิดจากเศษของแข็งกระเด็นหลุดเข้าไปติดในลูกล้อ(pulley) แล้วไปตัดซี่ฟันของสายพานให้หลุดออกไป เมื่อซี่ฟันของ Timing Belt อยู่ไม่ครบถ้วน จึงเกิดอาการสั่นกระดุก และเกิดเสียงดังได้

โดยทั่วไป หากพบอาการเหล่านี้และตรวจสอบแน่ชัดแล้วว่าสายพานเกิดการเสื่อมสภาพ หรือครบอายุการใช้งาน ควรเปลี่ยนสายพานใหม่ทดแทนทันที เพราะหากฝืนใช้ต่อไป นอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพการส่งกำลังลดลงแล้วอาจส่งผลให้ชิ้นส่วนเครื่องจักรอื่น ๆ ทำงานผิดเพี้ยนไป และอาจเกิดความเสียหายบานปลายได้ บางท่านอาจคิดว่าสามารถใช้สเปรย์หล่อลื่นฉีดที่ตัวสายพานได้ เพื่อลดการเกิดเสียงดังและยื้อให้สามารถใช้งานต่อไปได้ วิธีนี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาเพียงชั่วคราว ใช้ในกรณีประคองเพื่อรอหยุดเครื่องและเปลี่ยนสายพานเท่านั้น

ขั้นตอนการเปลี่ยนสายพาน

อย่างที่ได้แนะนำไปว่า ควรเปลี่ยนสายพานทันทีเมื่อถึงอายุการใช้งาน หรือเมื่อตรวจพบอาการเสื่อมสภาพ สายพานที่จะเปลี่ยนใหม่สามารถเลือกซื้อกับตัวแทนจำหน่ายสายพานที่มีรูปแบบหรือสเปคตามที่ต้องการได้ เพราะเครื่องจักรโดยทั่วไปสามารถหาซื้อสายพานยี่ห้อต่างๆมาเทียบเคียงใช้งานแทนกันได้ เว้นเสียแต่ว่าเครื่องจักรสำหรับงานเฉพาะทางที่ต้องการสายพานที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะไม่อาจหาซื้อได้ทั่วไป ในส่วนของสายพานที่ทำงานเชื่อมโยงกันเป็นเซ็ต ก็ควรใช้แบบเดียวกันทั้งเซ็ต ผู้ใช้งานสามารถซื้อมาเปลี่ยนเองหรือให้ผู้เชี่ยวชาญเปลี่ยนให้ก็ได้

ขั้นตอนการเปลี่ยนสายพานมีดังต่อไปนี้

  1. ปิดเครื่องจักร แขวนป้ายเตือนและควรล็อกไว้ ซึ่งป้ายเตือนต้องถอดออกได้โดยบุคคลที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
  2. ถอดฝาครอบชุดสายพานออก
  3. คลายสกรูยึดฐานมอเตอร์ และปรับลดระยะห่างระหว่างเพลาขับกับเพลาตาม เพื่อให้สายพานหย่อน
  4. ถอดสายพานเก่าออกจาก pulley
  5. ตรวจสอบ pulley หากพบว่าสึกหรอหรือชำรุดจะต้องเปลี่ยนใหม่ แต่หากมีสภาพปกติให้ทำความสะอาด
  6. ติดตั้งสายพานใหม่เข้าไป
  7. ปรับระยะห่างของเพลาทั้งสอง จนให้สายพานตึงตามค่ากำหนด โดยตรวจสอบค่าความตึงของสายพานด้วยเครื่องมือวัดโดยเฉพาะ
  8. ปรับตั้ง pulley ทั้งหมดให้อยู่ในแนวที่ถูกต้อง
  9. ขันสกรูยึดฐานมอเตอร์ให้แน่นด้วยค่าแรงบิดที่ถูกต้อง
  10. ติดตั้งฝาครอบ และทดลองเปิดเครื่องจักรให้ทำงานประมาณ 20 นาที จากนั้นปิดเครื่องจักรและลองเช็คค่าความตึงของสายพานอีกครั้ง หากมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า 5% จะต้องปรับตั้งใหม่

เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้น สิ่งสำคัญคือต้องใช้ชนิดของสายพานให้ถูกต้อง เช่น Timing Belt หรือ V-Belt รวมถึงสเปคต่าง ๆ เช่น เบอร์ ความกว้าง ความยาว ขนาดฟัน เป็นต้น

เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้น สิ่งสำคัญคือต้องใช้ชนิดของสายพานให้ถูกต้อง เช่น Timing Belt หรือ V-Belt รวมถึงสเปคต่าง ๆ เช่น เบอร์ ความกว้าง ความยาว ขนาดฟัน เป็นต้น

รู้แล้วรีบเปลี่ยน ก่อนเสี่ยงบานปลาย

สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการใช้สายพานสำหรับเครื่องจักรโรงงานนั้น ต้องคอยหมั่นสังเกตสภาพด้วยการฟังและดูอยู่เสมอ หากตรวจพบว่ามีอาการเสื่อมสภาพ ควรเปลี่ยนใหม่ทันทีที่ทำได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาบานปลายไปยังส่วนอื่น ๆ ของเครื่องจักร หากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายพานไทม์มิ่ง และสายพานอื่น ๆ สามารถโทร. หาเรา หรือส่งคำถามได้ที่แบบฟอร์มด้านล่างนี้ IMC ในฐานะตัวแทนจำหน่ายสายพานส่งกำลังแบรนด์ Continental ยินดีตอบทุกข้อสงสัย

 

บริษัท IMC 1994 จำกัด ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายอะไหล่สำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น สายพานส่งกำลัง (TRANSMISSION BELT) สายพานลำเลียง (CONVEYOR BELT) สายพานไทม์มิ่ง ( สายพานราวลิ้น ) สายพาน V BELT , TIMING BELT, สายพานพียูไทม์มิ่ง (PU TIMING BELT) สายพานกลม (ROUND BELT) สายพานแบน (FLAT BELT) ถุงลม อุตสาหกรรม ( AIR SPRING ) สายพานหน้าเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง และอะไหล่เครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์ครบวงจร จากแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก และอะไหล่เครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์ครบวงจร จากแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก อาทิ Continental , BehaBelt , Elatech , Dayco ให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลายตามความต้องการ พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยตอบคำถามและข้อสงสัยเกี่ยวกับอะไหล่ต่าง ๆ ให้กับท่านตลอดเวลา

สนใจสั่งซื้อหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ติดต่อ IMC 1994 Co., Ltd.
Phone : +66 02 875 9700 (Auto)
LINE Official Account : @IMC.1994

Avatar Mobile
Main Menu x