วิธีลดแรงสั่นสะเทือนของเครื่องจักรด้วยการติดตั้งถุงลม

ถุงลมสำหรับเครื่องจักร อุตสาหกรรมคืออะไร

ถุงลมสำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรมเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและช่วยแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องจักรอุตสาหกรรม อย่างเช่น ปัญหาด้านการสั่นสะเทือน ปัญหาการเกิดเสียงของโครงสร้าง ปัญหาด้านการบำรุงรักษา ส่วนในระบบที่จะต้องมีการยกชิ้นส่วนขึ้น-ลงอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้เกิดความนุ่มนวลและยืดอายุการใช้งาน จึงทำให้เครื่องจักรอุตสาหกรรมสามารถทำงานได้ดีในทุกสภาวะแวดล้อมโดยไม่เกิดความผิดพลาดและเสียหาย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ระบบถุงลมถูกพูดถึงและนิยมนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้

ถุงลมสำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรมคืออะไร

ถุงลม (Air spring) หรือที่นิยมเรียกกันในชื่ออื่นๆ อย่างเช่น Air bellow และ หมอนลม เป็นอุปกรณ์ยางแบบเป่าลม ไม่มีชิ้นส่วนที่เสียดสีกันภายในจึงปราศจากแรงเสียดทาน ทำหน้าที่รับน้ำหนักและช่วยลดแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องจักรที่มีชิ้นส่วนหมุน เช่น ปั๊ม คอมเพรสเซอร์ มอเตอร์ เครื่องยนต์ พัดลม เจนเนอเรเตอร์ ฯลฯ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดอันตราย และความเสียหายต่างๆ รวมถึงการทำงานที่ผิดพลาดของเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆที่ไวต่อแรงสั่นสะเทือน ที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

ยกตัวอย่างเช่น การทำงานของเครื่องซักผ้าอุตสาหกรรม ที่โดยปกติแล้วการทำงานมักจะเกิดความไม่สมดุล เนื่องจากการกระจายน้ำหนักของผ้าไม่สม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลให้ตัวเครื่องซักผ้าเองและเครื่องจักรหรืออุปกรณ์อื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงเกิดความเสียหายจากการได้รับแรงสั่นสะเทือน ดังนั้นการติดตั้งถุงลมเข้ากับเครื่องซักผ้าอุตสาหกรรมจะช่วยรองรับน้ำหนักของตัวเครื่องได้โดยตรง และช่วยดูดซับแรงสั่นสะเทือนขณะใช้งานให้มีการสั่นน้อยที่สุด และส่งผ่านโครงสร้างลงสู่พื้นในระดับที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งช่วยป้องกันความเสียหายและช่วยยืดอายุการใช้งานของตัวเครื่องซักผ้าและเครื่องจักรหรืออุปกรณ์อื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ถุงลมยังถูกนำมาใช้สำหรับการลดหรือเพิ่มระดับ รวมถึงการปรับองศาของเครื่องจักรอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากถุงลมมีขนาดกะทัดรัด รองรับน้ำหนักได้มาก และมีความยืดหยุ่นสูงกว่าคอยด์สปริง ที่เมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่งจะเกิดการล้าของสปริงขึ้น ซึ่งส่งผลให้สปริงไม่สามารถคงอยู่ในตำแหน่งเดิมได้อีกต่อไป

ถุงลมสำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรมมีกี่แบบ

เนื่องจากเครื่องจักรอุตสาหกรรมแต่ละชนิดมีขนาดและความต้องการในการใช้งานถุงลมที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้ถุงลมจึงถูกผลิตขึ้นมาในหลากหลายรูปแบบ เพื่อรองรับการใช้งานและหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยถุงลมสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบตามลักษณะของรูปทรง และแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ตามลักษณะของการใช้งาน ดังนี้

1.แบ่งรูปแบบตามลักษณะของรูปทรง

1.1 ถุงลมโดนัท (Air Spring Convoluted type) ถุงลมแบบโดนัท มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับลูกบอลทรงกลมที่วางซ้อนกันเป็นชั้น ตั้งแต่แบบ 1 ชั้น 2 ชั้น และ 3 ชั้น ซึ่งสามารถเลือกใช้งานให้เหมาะสมตามความสูงที่ต้องการ โดยถุงลมแบบโดนัทจะมีความแข็งแรงและทนทานมากเป็นพิเศษจึงสามารถรองรับน้ำหนักได้มาก และสามารถรับแรงดันลมมาตรฐานโรงงานที่ 8 bar และรับได้สูงสุด 12 bar ในรุ่นพิเศษ จึงนิยมนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมเครื่องจักรหนัก เช่น การยกแม่พิมพ์ การกดแม่พิมพ์ การยกวัตถุหรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ รวมไปถึงในระบบช่วงล่างของรถยนต์ที่ต้องการการตอบสนองในด้านการปรับเปลี่ยนความสูงและต่ำไปมาได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

1.2 ถุงลมทรงกระบอก (Air Spring Sleeve type) ถุงลมทรงกระบอก เป็นถุงลมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับกระบอกไม้ไผ่หรือถ้วยแก้วทรงสูง โดยนิยมนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุตสาหกรรมรถยนต์ ทั้งรถบัส และรถทัวร์ขนาดใหญ่ รวมไปถึงรถบรรทุก และรถส่งสินค้าหลาย ๆ รุ่นที่ต้องการลดแรงสั่นสะเทือนในระหว่างการขับขี่

2.แบ่งรูปแบบตามลักษณะของการใช้งาน

2.1 ถุงลม Crimped Series – Model C ถุงลมอุตสาหกรรมโมเดล C ถูกออกแบบมาให้ไม่สามารถแยกชิ้นส่วนออกจากกันได้ ส่งผลให้การประกอบ Bead Plate เข้ากับตัวยางจึงมีความแข็งแรงสูง โดยวัสดุยางที่เลือกใช้เป็นแบบวัสดุยางธรรมชาติ NR ในรุ่นสแตนดาร์ด และมีขนาดของรูเกลียวทั้งแบบมาตราฐาน Metric และ Imperial นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ในอุณหภูมิที่หลากหลาย โดยช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม ได้แก่ ช่วง -40°C ถึง 50°C (สูงสุด 70°C) ซึ่งถุงลมเครื่องจักรอุตสาหกรรมโมเดล C ยังมีรุ่นที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษโดยการใช้ยางสังเคราะห์ชนิด ECO ที่สามารถใช้งานได้ในอุณหภูมิสูงสุดถึง 130°C

2.2 ถุงลม Dismountable Series – Model D ถุงลมอุตสาหกรรมโมเดล D ถูกออกแบบมาด้วยวัสดุของ Plate ทั้งแบบรุ่น DS ที่เป็น Steel และแบบรุ่น DI ที่เป็น Aluminium ที่สามารถนำมาแยกส่วนประกอบเพื่อเปลี่ยนเฉพาะตัวยางได้ โดยวัสดุยางที่นำมาใช้เป็นแบบวัสดุยางธรรมชาติ NR ในรุ่นสแตนดาร์ด และมีขนาดของรูเกลียวแบบมาตราฐาน Metric ซึ่งถุงลมเครื่องจักรอุตสาหกรรมโมเดล D นั้น สามารถนำมาใช้งานได้ในอุณหภูมิที่หลากหลายที่ช่วงอุณหภูมิ -40°C ถึง 50°C (สูงสุด 70°C) และยังมีรุ่นพิเศษยางสังเคราะห์ชนิด CR ทนอุณหภูมิสูงสุด 90°C และชนิด ECO ทนอุณหภูมิสูงสุดถึง 130°C

2.3 ถุงลม Ring Series – Model R ถุงลมอุตสาหกรรมโมเดล R ถูกออกแบบมาให้สามารถแยกชิ้นส่วนระหว่างส่วนของ Bead Ring และส่วนของยาง จึงสามารถนำมาใช้งานโดยการเลือกเปลี่ยนเฉพาะตัวยางที่เป็นแบบวัสดุยางธรรมชาติ NR ในรุ่นสแตนดาร์ดได้ โดยวัสดุที่นำมาใช้ทำ Bead Ring นั้น มีทั้งแบบรุ่น RI ที่เป็น Steel และ Stainless Steel และในแบบรุ่น RS ที่เป็น Aluminium ซึ่งมีขนาดรูเกลียวให้เลือกทั้งแบบมาตราฐาน Metric และ Imperial และยังสามารถนำมาใช้งานได้ในอุณหภูมิที่หลากหลาย ตั้งแต่ช่วง -40°C ถึง 50°C (สูงสุด 70°C) และมีการออกแบบรุ่นพิเศษที่ใช้ยางสังเคราะห์ชนิด ECO ทนอุณหภูมิสูงสุดถึง 130°C

2.4 ถุงลม Sleeve Series – Model S ถุงลมอุตสาหกรรมโมเดล S เป็นถุงลมอุตสาหกรรมในรูปแบบทรงกระบอกขนาดกะทัดรัด ที่สามารถนำมาติดตั้งได้อย่างสะดวก โดยการประกอบตัว Plate พลาสติกเข้ากับส่วนของตัวยางนั้นเป็นไปอย่างแข็งแรงทำให้ถุงลมอุตสาหกรรมรุ่นนี้ไม่สามารถนำมาแยกชิ้นส่วนออกจากกันได้ สำหรับขนาดของรูเกลียวนั้นมีให้เลือกทั้งแบบมาตราฐาน Metric และ Imperial ซึ่งผลิตจากวัสดุยางสังเคราะห์ CR ในรุ่นสแตนดาร์ด และนอกจากนี้ถุงลมอุตสาหกรรม Sleeve Series รุ่น Model S ยังสามารถนำมาใช้งานได้ในหลายอุณหภูมิ โดยมีอุณหภูมิที่เหมาะสมคือช่วง -30°C ถึง 70°C และสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงสุดถึง 90°C

การติดตั้งถุงลมสำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรม

สำหรับวิธีการติตตั้งถุงลมสามารถทำได้อย่างง่ายไม่ต้องมีเครื่องมือพิเศษ โดยนำไปติดตั้งที่ตำแหน่งแท่นเครื่อง ใช้เวลาไม่มากในการจัดตำแหน่งและปรับระดับ การใช้งานเพียงเติมลมเข้าไปในถุงลมด้านที่ไม่มีการเคลื่อนไหวในปริมาณที่เหมาะสมกับน้ำหนักและความสูง โดยพิจารณาได้จากข้อมูลทางเทคนิคของถุงลมเบอร์นั้นๆ เพื่อการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

การติตตั้งถุงลมสำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรม สามารถนำมาติดตั้งเพื่อใช้งานได้ในหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น การติดตั้งถุงลมบริเวณฐานของเครื่องจักรอุตสาหกรรมเพื่อป้องกันแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นจากการใช้งานเครื่องจักร การติดตั้งถุงลมเพื่อการลำเลียงสินค้าโดยการติดตั้งถุงลมบริเวณสายพานหรือลูกกลิ้งเพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ในเชิงมุมและปรับความยืดหยุ่นในตำแหน่งด้านข้างของเครื่องจักรอุตสาหกรรม เพื่อการควบคุมความตึงของลูกกลิ้งและความตึงของสายพาน รวมถึงการนำมาใช้เพื่อการหนีบและการล็อคชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ของเครื่องจักรอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน และนอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้เพื่อปรับความสูงของ Pantograph หรือ แหนบรับไฟ ในรถไฟที่มีระแบบรับไฟฟ้าผ่านสายส่งกระแสไฟฟ้าเหนือศีรษะได้อีกด้วย

ข้อดีของการติดตั้งถุงลมสำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรม

• ถุงลมสำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรมไม่มีก้านสูบและชิ้นส่วนภายใน จึงไม่เกิดแรงเสียดทานและการสึกหรอ ส่งผลให้สามารถใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าบำรุงรักษา

• ถุงลมสำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรมไม่มีเสียงดังเกิดขึ้นในระหว่างการใช้งาน ซึ่งแตกต่างจากการใช้คอยด์สปริงที่มีเสียงดังจากการกระทบกันของตัวคอยด์สปริง

• ถุงลมสำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพในการแยกแรงสั่นสะเทือนได้สูงกว่าคอยด์สปริง

ติดต่อ IMC 1994 Co., Ltd.

Phone : +66 02 875 9700

LINE Official Account : @IMC.1994

Avatar Mobile
Main Menu x