มีหน้าที่ถ่ายทอดกำลังจากเพลาข้อเหวี่ยงส่งไปยังเพลาราวลิ้นเพื่อให้เพลาราวลิ้นหมุน ควบคุมการเปิดปิด วาล์ไอดีไอเสีย สายพานไทม์มิ่งที่ได้มาตรฐานจะถูกกำหนดมาจากผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซล ส่วนใหญ่กำหนดให้เปลี่ยนที่ 100,000 – 150,000กิโลเมตร ขณะที่เครื่องยนต์เบนซินที่ 100,000 กิโลเมตร สายพานจะต้องได้รับการเปลี่ยนตามระยะที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนด แต่ในการใช้งานจริงอาจต้องเจอการจราจรที่ติดขัด การขับรถลุยน้ำ การบรรทุกหรือ การใช้งานรถที่หนักกว่าปกติ การตรวจเช็คสภาพสายพานก่อนถึงระยะเปลี่ยน เป็นสิ่งที่ควรกระทำ เพื่อป้องกันการขาดในระหว่างการใช้งาน ในการตรวจสอบหากพบสิ่งผิดปกติ เช่น รอยแตก ฉีกขาด เนื้อสายพานแข็ง ฟันชำรุด ให้เปลี่ยนทันที ในการเปลี่ยนสายพาน ควรเปลี่ยนลูกรอกสายพาน, ปั๊มน้ำ ไปพร้อมกันด้วย
มีหน้าที่ในการถ่ายทอดกำลังจากเครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อขับเคลื่อนอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ไดชาร์จ, ปั้มน้ำ, ปั้มเพาเวอร์, คอมแอร์ , พัดลมระบายความร้อน ซึ่งจะมีพูเล่ย์หน้าเครื่อง เป็นตัวส่งกำลังผ่านสายพานไปหมุนอุปกรณ์ให้ทำงาน สายพานหน้าเครื่องมีทั้งแบบ V-BELT ร่องเดี่ยวและ MULTIRIB V-BELT หรือมีหลายร่อง สังเกตได้จากเบอร์ที่พิมพ์ลงบนสายพาน หรือปลอกสายพาน เช่น 4PK1220 หมายถึง สายพาน MULTIRIB V-BELT แบบ 4 สันนูน มีความยาว 1220 มม.และ 9.5×975 หมายถึง สายพาน V-BELT ทีมีร่องเดียว ขนาดความกว้าง 9.5 มม. ยาว 975 มม. เป็นต้น สายพานหน้าเครื่องมีอายุการทำงานขั้นต่ำประมาณ 50,000 KM หรือ 2-3 ปี
หากพบรอยแตกลายงา เนื้อยางแตกเป็นบั้งๆ เส้นใยหลุดลุ่ย และบริเวณหลังสายพานเริ่มแยกตัวออกจากกัน ต้องเปลี่ยนใหม่ อย่าฝืนใช้ต่อไป เพราะถ้าขาด ระบบที่เกี่ยวข้องกับสายพานเส้นนั้นจะหยุดทำงานทันที เครื่องยนต์ยุคใหม่ ถูกออกแบบให้ใช้สายพานหน้าเครื่องเพียง 1-2 เส้นเท่านั้น ซึ่งจะขับเคลื่อนอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ ในเส้นเดียว ข้อดี คือ จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนสายพาน และง่ายต่อการบำรุงรักษา เครื่องยนต์ในยุคก่อนๆ จะมีสายพานหลายเส้น ที่แยกการทำงานออกจากกัน
มีหน้าที่ถ่ายทอดกำลังจากเพลาข้อเหวี่ยงส่งไปยังเพลาราวลิ้นเพื่อให้เพลาราวลิ้นหมุน ควบคุมการเปิดปิด วาล์ไอดีไอเสีย สายพานไทม์มิ่งที่ได้มาตรฐานจะถูกกำหนดมาจากผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซล ส่วนใหญ่กำหนดให้เปลี่ยนที่ 100,000 – 150,000กิโลเมตร ขณะที่เครื่องยนต์เบนซินที่ 100,000 กิโลเมตร สายพานจะต้องได้รับการเปลี่ยนตามระยะที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนด แต่ในการใช้งานจริงอาจต้องเจอการจราจรที่ติดขัด การขับรถลุยน้ำ การบรรทุกหรือ การใช้งานรถที่หนักกว่าปกติ การตรวจเช็คสภาพสายพานก่อนถึงระยะเปลี่ยน เป็นสิ่งที่ควรกระทำ เพื่อป้องกันการขาดในระหว่างการใช้งาน ในการตรวจสอบหากพบสิ่งผิดปกติ เช่น รอยแตก ฉีกขาด เนื้อสายพานแข็ง ฟันชำรุด ให้เปลี่ยนทันที ในการเปลี่ยนสายพาน ควรเปลี่ยนลูกรอกสายพาน, ปั๊มน้ำ ไปพร้อมกันด้วย
สนใจสั่งซื้อหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ติดต่อ IMC 1994 Co., Ltd.
Phone : +66 02 875 9700 (Auto)
LINE Official Account : @IMC.1994