ยางแต่ละชั้นของ ถุงลม air spring มีหน้าที่อย่างไร

ยางแต่ละชั้นของ ถุงลม air spring มีหน้าที่อย่างไร

อัพเกรดเครื่องจักรของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยถุงลม air spring

เทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง งานในระบบอุตสาหกรรมก็มีมากขึ้นทุกวัน ผู้ประกอบการเองก็จำเป็นต้องพัฒนาตัวเองให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้สายพานการผลิตของธุรกิจที่มีไม่หยุดชะงัก การเลือกใช้สิ้นส่วนเครื่องจักรต่างๆ ของโรงงานจึงมีความสำคัญและเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลยก็ว่าได้ สำหรับการป้องกันแรงสั่นสะเทือนของเครื่องจักรนั้น ก่อนหน้านี้มีเทคโนโลยีคอยด์สปริงที่คอยรับแรงสั่นสะเทือนจากปั๊ม คอมเพรสเซอร์ มอเตอร์ เครื่องยนต์ พัดลม เจเนอเรเตอร์ ซึ่งเป็นสิ้นช่วนที่เกิดการสั่นสะเทือนจากการทำงานอยู่เสมอ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีถุงลม air spring จึงเข้ามาช่วยลดแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องจักร ซึ่งได้ผลดีและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าคอยด์สปริงมาก เนื่องจากถุงลม air spring ทำจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูงและมีการป้องกันหลายชั้น ทำให้ไม่เกิดการล้าของปริงส์เหมือนอย่างที่ผ่านมาถุงลม air spring จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

ถุงลม air spring

ถุงลม air spring หรือที่รู้จักกันในชื่อหมอนลม หรือ air bellow

เป็นอุปกรณ์ที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน แต่โดยปกติแล้วถุงลม air spring มีโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด 3 ชั้นหลัก ได้แก่ ยางชั้นนอก ยางชั้นกลาง และยางชั้นใน ซึ่งแต่ละส่วนก็จะทำหน้าที่แตกต่างกันดังนั้น

  1. ยางชั้นนอกของถุงลม air spring
    ยางชั้นนี้เรียกได้ว่าเป็นส่วนเดียวที่สัมผัสอากาศ จึงเป็นส่วนที่มีผิวสัมผัสลื่น มันเล็กน้อย เพื่อลดแรงเสียดทานของเครื่องจักร ช่วยให้เกิดแรงสั่นสะเทือนภายนอกได้น้อยลง ถุงลม air spring จึงส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อมภายนอกน้อยกว่าเครื่องมืออื่นๆ เนื่องจากยางด้านนอกมีผัวสัมผัสที่ลื่นและบางเบา

  2. ยางชั้นกลางของถุงลม air spring
    ยางส่วนนี้มักจะใช้เป็นยางเสริมเส้นใย ที่ติดตั้งยางด้วยการถักกันเป็นตาข่ายเส้นใย เสริมความแข็งแรงให้กับตัวถุงลม air spring เอง ซึ่งหากต้องการความแข็งแรงมากก็สามารถเพิ่มจำนวนเส้นใยได้ตามต้องการ แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูถึงความเหมาะสมในการใช้งานของถุงลม air spring เองด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากหากเสริมส่วนนี้เยอะเกินไปก็อาจจะทำให้ความยืดหยุ่นมีไม่มากเท่าที่ควร

  3. ยางชั้นในของถุงลม air spring
    ชั้นในสุดของถุงลม air spring จะเป็นยางที่มีพื้นผิวด้านกว่าส่วนอื่นๆ โดยจะเป็นส่วนที่สัมผัสกับลมที่ใส่เข้าไปในหมอนลมขณะใช้งานนั่นเอง เรียกได้ว่าเป็นส่วนที่สัมผัสกับเครื่องจักรโดยตรง สัมผัสกับแรงสั่นสะเทือนโดยตรง จึงจำเป็นต้องออกแบบให้มีความหนาและผิวด้านเพื่อรับกับพื้นผิวของเครื่องจักร

จะเห็นได้ว่า ถุงลม air spring มีส่วนประกอบหลายชั้นเพื่อสร้างความแข็งแรงทนทาน ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดแรงสั่นสะเทือนของเครื่องจักรอื่นๆ ได้ดี จึงช่วยลดปัญหาการซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่อาจเกิดการล้าหรือความคลาดเคลื่อนจากการสั่นสะเทือนได้ดี ผู้ประกอบการยุคใหม่จึงมักหันมาใช้ ถุงลม air spring มากขึ้น โดยเลือกคุณภาพและวัสดุที่เหมาะสมถูกใจ ราคาที่เป็นมิตรและการบริการหลังการขายที่มีคุณภาพ ซึ่งที่ บริษัท IMC 1994 จำกัด เป็นผู้นำเรื่องสายพาน อะไหล่เครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์มาอย่างยาวนาน อย่าห่วงว่าหากอยากได้ถุงลม air spring แล้วจะไปที่ไหน มาที่นี่ได้ทันที

รู้จักกับถุงลม air spring ให้ดีมากขึ้นเพื่อเลือกใช้ให้ถูกต้องตามประเภทของเครื่องจักร เพราะเครื่องจักรแต่ละชนิดนั้นก็มีความต้องการแตกต่างกันออกไป ถุงลม air spring จึงผลิตขึ้นมาหลากหลายแบบเพื่อตอบรับกับเทคโนโลยีที่เติบโตไปพร้อมๆ กัน โดยปกติแล้ว ถุงลมสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ตามลักษณะรูปทรง และ 4 แบบ ตามลักษณะของการใช้งาน มีรายละเอียดดังนี้

ประเภทของถุงลมตามลักษณะรูปร่าง

  1. ถุงลม air spring แบบโดนัท
    ถุงลมทรงกลมวางซ้อนกันตั้งแต่ 1 – 3 ชั้น หรือมากกว่าโดยสามารถเลือกความสูงที่ต้องการได้ เหมาะกับเครื่องจักรที่มีน้ำหนักกดทับมากเพราะถุงลม air spring ประเภทนี้สามารถทนรับน้ำหนักได้ดี มักใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องจักรหนัก

  2. ถุงลม air spring แบบกระบอก
    ถุงลมลักษณะนี้คล้ายกันกับกระบอกไม้ไผ่ ถ้วยแก้วทรงสูง ปกติมักใช้แค่ชั้นเดียวก็เพียงพอต่อความต้องการของเครื่องจักร จึงมักใช้กับเครื่องจักรขนาดเล็ก เช่น รถยนต์ รถบัสและรถทัวร์ขนาดใหญ่ ที่ต้องการรถแรงสั่นสะเทือนในขณะขับขี่

    ประเภทของถุงลมตามลักษณะของการใช้งาน

    1. ถุงลม air spring Model C
      ถุงลมประเภทนี้ออกแบบมาเป็นแบบแยกชิ้นส่วนไม่ได้ มีความแข็งแรงสูง ใช้ได้ในอุณหภูมิที่หลากหลาย ทั้งร้อนมากและหนาวมาก ถุงลม air spring ชนิดนี้ก็สามารถทำได้ดี

    2. ถุงลม air spring Model D
      ถุงลมประเภทนี้สามารถแยกส่วนออกมาเพื่อเปลี่ยนเฉพาะยางแต่ละส่วนได้ ซึ่งการออกแบบมีมาตรฐานและสามารถใช้ร่วมกับวัสดุที่หลากหลายได้อย่างใจ ทั้งขนาดของเกลียวที่มีมาตรฐานและยางแสตนดาร์ด ทำให้ไม่ต้องกังวลเวลาที่ต้องการปรับเปลี่ยนยางชั้นไหนเป็นพิเศษ

    3. ถุงลม air spring Model R
      ถุงลมชนิดนี้ออกแบบมาให้แยกชิ้นส่วนระหว่างเกลียวและวงแหวนสำหรับประกอบ มีวัสดุที่หลากหลายทั้งยางธรรมชาติ สแตนเลส และอะลูมิเนียม ทำให้ถุงลม air spring มีความแข็งแรงมากขึ้นเมื่อต้องการให้รับน้ำหนักมาก นอกจากนี้หากเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม ก็จะทำให้มีอายุการใช้งานนานมากขึ้นอีกด้วย

    4. ถุงลม air spring Model S ถุงลมชนิดนี้เป็นถุงลมในรูปแบบทรงกระบอกขนาดเล็ก ติดตั้งได้สะดวกด้วยการประกอบแผ่นพลาสติกเข้ากับส่วนยาง จึงทำให้ไม่สามารถแยกชิ้นส่วนได้อีกหลังจากประกอบเรียบร้อยแล้ว และมีข้อจำกัดในเรื่องการใช้งานในอุณหภูมิสูง ซึ่งอาจทนความร้อนได้ไม่มาก เหมาะสำหรับการใช้งานในเครื่องยนต์ขนาดเล็กนั่นเอง

รูปแบบนี้แล้วก็อาจจะเกิดความเครียดในการเลือกประเภทของถุงลม air spring สำหรับใช้งานให้ถูกประเภท ให้ บริษัท IMC 1994 จำกัด เป็นที่ปรึกษาในเรื่องนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมหรือเครื่องจักรไหนๆ เราก็มีบริการอย่างครบวงจร

สนใจสั่งซื้อหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ติดต่อ IMC 1994 Co., Ltd.
Phone : +66 02 875 9700 (Auto)
LINE Official Account : @IMC.1994

Avatar Mobile
Main Menu x