วิธีการตั้งความตึงสายพาน อย่างถูกต้อง ช่วยยืดอายุการใช้งาน

วิธีการตั้งความตึงสายพาน อย่างถูกต้อง
ช่วยยืดอายุการใช้งาน

ยืดอายุการใช้งานของสายพาน ด้วยการปรับระดับความตึง-หย่อนอย่างถูกต้อง

          

          ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้สายพานของเครื่องจักรอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ อย่างสายพานส่งกำลัง (TRANSMISSION BELTS) สายพานลำเลียง (CONVEYOR BELTS) และสายพานไทม์มิ่ง เกิดการเสื่อมสภาพ เกิดความเสียหาย หรือเกิดการเสื่อมอายุการใช้งานก่อนถึงกำหนดเวลาอันสมควร จนส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทำงานของเครื่องยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่ลดลง มักจะเกิดขึ้นจากขั้นตอนในการติดตั้งสายพาน และการปรับระดับความตึง-หย่อนของสายพานอย่างไม่ถูกวิธีจากผู้ติดตั้งที่ไม่ได้มีความชำนาญหรือมีความละเอียดรอบคอบ

          เพราะฉะนั้นแล้ว เพื่อการใช้งานสายพานสำหรับเครื่องยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรมได้อย่างปลอดภัยและเต็มประสิทธิภาพ ผู้ใช้งานจึงจำเป็นที่จะต้องหมั่นตรวจสอบและประเมินความเสื่อมสภาพของสายพานประเภทต่าง ๆ อยู่เสมอ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ถึงวิธีการปรับระดับความตึง-หย่อนของสายพานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมก่อนการใช้งานทุกครั้ง เพื่อเป็นการช่วยป้องกันปัญหาด้านการเสื่อมสภาพของสายพานประเภทต่าง ๆ ที่มักจะเกิดขึ้นจากการปรับความตึง-หย่อนของสายพานอย่างไม่ถูกต้อง และเพื่อเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานให้สายพานสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยาวนานมากยิ่งขึ้น

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับระดับความตึง-หย่อนของสายพานที่ไม่เหมาะสม

          ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับระดับความตึง-หย่อนของสายพานที่ไม่เหมาะสมส่วนใหญ่มักจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพ และความเสียหายของสายพาน และสายพานส่งกำลัง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสายพานลื่น (Belt Slip) เนื้อสายพานร้าว สายพานขาดออกจากกันในลักษณะตัดตรง ปัญหาท้องสายพานสึก ฟันสายพานสึก ฐานฟันร้าวหรือฟันรูด และเครื่องยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรมมีเสียงดังเกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน

          หากปล่อยให้มีการใช้งานสายพานที่เสื่อมสภาพหรือชำรุดเหล่านี้ต่อไปโดยที่ไม่ได้มีการแก้ไข สายพานที่เสื่อมสภาพจากการปรับระดับความตึง-หย่อนของสายพานที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้อาจกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรมลดลง และอาจส่งผลให้ชิ้นส่วนอื่น ๆ ของเครื่องยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรม อย่างเช่น พูลเลย์ (Pulley) หรือ ลูกล้อของสายพาน เกิดการชำรุดเสียหายและกลายมาเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรมไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน

การตรวจสอบระดับความตึง-หย่อนของสายพาน

          สำหรับวิธีการตรวจสอบระดับความตึง-หย่อนของสายพาน และสายพานส่งกำลัง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ วิธีการตรวจสอบความตึง-หย่อนของสายพานโดยการใช้มือวัด และวิธีการตรวจสอบความตึง-หย่อนของสายพานโดยการใช้เครื่องมือวัดความตึงของสายพานโดยเฉพาะ

  • การตรวจสอบความตึง-หย่อนของสายพานโดยการใช้มือวัด
    วิธีการตรวจสอบระดับความตึง-หย่อนของสายพานเครื่องยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรมโดยการใช้มือวัดนั้นถือได้ว่าเป็นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วเพียงแค่ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไปตรงบริเวณกึ่งกลางของสายพานแล้วทำการวัดระยะการยุบตัวของสายพาน โดยสายพานที่มีระดับความตึง-หย่อนที่เหมาะสมจะต้องมีระยะการยุบตัวของสายพานอยู่ที่ประมาณ 15 มิลลิเมตร หากทำการตรวจสอบแล้วพบว่ามีระยะการยุบตัวของสายพานที่มากหรือน้อยกว่านั้น ผู้ใช้งานจำเป็นจะต้องทำการปรับระดับความตึง-หย่อนของสายพานใหม่ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมก่อนการใช้งานเพื่อการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    แต่อย่างไรก็ตามวิธีการตรวจสอบความตึง-หย่อนของสายพานโดยการใช้มือวัด อาจให้ผลการทดสอบที่มีความคลาดเคลื่อนซึ่งเป็นผลมาจากน้ำหนักมือและแรงกดของผู้ทำการทดสอบที่ไม่เท่ากัน รวมไปถึงความเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากเครื่องมือที่ใช้ในการวัดระยะการยุบตัวของสายพานได้

  • การตรวจสอบความตึง-หย่อนของสายพานโดยการใช้เครื่องมือวัดความตึงของสายพานโดยเฉพาะการตรวจสอบความตึง-หย่อนของสายพานโดยการใช้เครื่องมือวัดความตึงของสายพานโดยเฉพาะ ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการตรวจสอบระดับความตึง-หย่อนของสายพาน เนื่องจากเครื่องมือวัดความตึงของสายพานจะใช้หลักการวิเคราะห์คลื่นโซนิค (Sonic Wave) ที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน การสั่น หรือการแกว่งของสายพานในระหว่างการใช้งาน โดยการใช้งานเครื่องมือวัดความตึงของสายพานสามารถทำได้ด้วยการนำเอาบริเวณเซนเซอร์ของเครื่องมือวัดความตึงของสายพานมาเข้าใกล้สายพานในระยะอย่างน้อย 1 เซนติเมตร โดยที่ไม่ต้องทำการสัมผัส

    เนื่องจากบริเวณเซนเซอร์ของเครื่องมือวัดความตึงของสายพานจะทำการตรวจจับคลื่นที่เกิดขึ้นในระยะ span ของสายพาน หรือ ระยะที่วัดจากจุดศูนย์ของกลางของพูลเลย์ (Pulley) หนึ่งไปยังอีกพูลเลย์หนึ่งเท่านั้น โดยหลังจากนั้น เครื่องมือวัดความตึงของสายพานจะทำการวิเคราะห์และประมวลผลค่าความตึง-หย่อนของสายพาน ก่อนจะแสดงผลที่เที่ยงตรงและแม่นยำออกมาบนหน้าจอดิจิตอลในหน่วย N (นิวตัน)

วิธีการปรับระดับความตึง-หย่อนของสายพาน

  1. ปิดเครื่องยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรม พร้อมทำการแขวนป้ายแจ้งเตือนเครื่องจักรกำลังซ่อม ห้ามใช้งาน (DO NOT RUN MACHINERY) เพื่อเป็นการแจ้งเตือนให้พนักงานที่เกี่ยวข้อง หรือพนักงานที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่โดยรอบปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง
  2. ทำการถอดฝาครอบชุดสายพานออก พร้อมทำการคลายสกรูยึดฐานมอเตอร์
  3. ค่อย ๆ ทำการปรับลดระยะห่างระหว่างเพลาขับและเพลาตามเพื่อให้สายพานหย่อนลง หรือปรับระดับเพิ่มระยะห่างระหว่างเพลาขับและเพลาตามเพื่อให้สายพานหย่อนตึงขึ้น ตามความต้องการ
  4. ทำการตรวจสอบระดับความตึง-หย่อนของสายพานและสายพานส่งกำลังโดยการใช้มือวัด หรือใช้เครื่องมือวัดความตึงของสายพานโดยเฉพาะตามความเหมาะสม
  5. ทำการปรับตั้ง Alignment ของพูลเลย์ (Pulley) หรือ ลูกล้อของสายพาน ให้อยู่ในระดับที่ถูกต้องตรงกัน
  6. ขันสกรูยึดฐานมอเตอร์ให้แน่นด้วยค่าแรงบิดที่ถูกต้อง
  7. ทำการติดตั้งฝาครอบเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรอุตสาหกรรม แล้วปล่อยให้เครื่องยนต์หรือเครื่องจักรอุตสาหกรรมทำงานต่อเนื่องประมาณ 20 นาที
  8. หลังจากนั้นให้ทำการปิดเครื่องจักรและถอดฝาครอบเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรอุตสาหกรรมออก เพื่อทำการตรวจเช็กระดับความตึง-หย่อนของสายพานไทม์มิ่ง สายพาน V-belt และสายพานส่งกำลังโดยการใช้มือวัด หรือใช้เครื่องมือวัดความตึงของสายพานอีกครั้ง หากพบว่าสายพานมีระยะการยุบตัวของสายพานที่มากหรือน้อยกว่า 15 มิลลิเมตร หรือมีค่าความตึงที่เปลี่ยนแปลงไปมากกว่า 5% ให้ทำการปรับระดับความตึง-หย่อนของสายพานใหม่ แล้วทำการทดสอบอีกครั้ง
  9. เมื่อทดสอบเรียบร้อยแล้วให้ทำการติดตั้งฝาครอบเครื่องจักรอุตสาหกรรม พร้อมทำการตรวจสอบความเรียบร้อยทั้งหมดอีกครั้ง ก่อนจะทำการปลดป้ายแจ้งเตือนเครื่องจักรกำลังซ่อม ห้ามใช้งาน (DO NOT RUN MACHINERY) ออก เพียงเท่านี้เครื่องจักรอุตสาหกรรมก็พร้อมสำหรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง

          บริษัท IMC 1994 จำกัด ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายอะไหล่สำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น สายพานส่งกำลัง (TRANSMISSION BELT) สายพานลำเลียง (CONVEYOR BELT) สายพานไทม์มิ่ง (สายพานราวลิ้น) สายพาน V BELT , TIMING BELT, สายพานพียูไทม์มิ่ง (PU TIMING BELT) สายพานกลม (ROUND BELT) สายพานแบน (FLAT BELT) ถุงลม อุตสาหกรรม (AIR SPRING) และอะไหล่เครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์ครบวงจร จากแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก อาทิ Continental, BehaBelt, Elatech , Dayco ให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลายตามความต้องการ พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยตอบคำถามและข้อสงสัยเกี่ยวกับอะไหล่ต่าง ๆ ให้กับท่านตลอดเวลา

สนใจสั่งซื้อหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ติดต่อ IMC 1994 Co., Ltd.
Phone : +66 02 875 9700 (Auto)
LINE Official Account : @IMC.1994

Avatar Mobile
Main Menu x