ทำความรู้จักกับสายพานแบน (Flat Belt)

ทำความรู้จักกับสายพานแบน (Flat Belt)

คุณสมบัติและการใช้งานสายพานแบน

         การทำงานขับเคลื่อนและการเคลื่อนไหวของเครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์ประเภทต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องใช้งานชิ้นส่วนสำคัญอย่าง “สายพาน (Belts)” เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่ออุปกรณ์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการช่วยให้ชิ้นส่วนของเครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์เหล่านี้สามารถทำงานประสานกันเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนหรือการส่งกำลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สายพาน

         ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว สายพานที่ถูกนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องยนต์ เครื่องกล หรือเครื่องจักรภายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามรูปแบบของสายพานและลักษณะของพื้นผิวของสายพานที่มีความแตกต่างกันออไป ไม่ว่าจะเป็นสายพานแบน (Flat Belt), สายพานวี (V Belt), สายพานกลม (Ropes Belt), และสายพานไทม์มิ่งหรือสายพานราวลิ้น (Timing Belt) เพื่อให้สามารถรองรับกับรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายได้อย่างเหมาะสม โดยในวันนี้เราจะขอพาทุกคนไปเจาะลึกเกี่ยวกับสายพานแบน (Flat Belt) ซึ่งถือเป็นสายพานส่งกำลังประเภทหนึ่งว่า สายพานแบนคืออะไร ? สายพานแบนมีลักษณะการใช้งานอย่างไร ? รวมถึงสายพานแบนเหมาะสำหรับการนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ในรูปแบบใดบ้าง ?

ทำความรู้จักกับสายพานแบน (Flat Belt)

         สายพานแบน (Flat Belt) เป็นสายพานส่งกำลังประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ในหลากหลายอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ อุตสาหกรรมไม้ อุตสาหกรรมเหล็ก รวมไปถึงอุตสาหกรรมพลังงาน เป็นต้น เพื่อการทำหน้าที่สำคัญในการช่วยส่งผ่านกำลังจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หรือการช่วยส่งผ่านกำลังระหว่างพูลเลย์ (Pulley) หรือ ลูกล้อของสายพาน 2 ตัว คือ จากพูลเลย์ของเพลาขับ (Driver) ไปยังพูลเลย์ของตัวตาม (Driven) ที่อยู่ในทิศทางเดียวกัน เช่นเดียวกันกับลักษณะการทำงานของฟันเฟืองหรือโซ่ เพื่อช่วยทำให้พูลเลย์ของตัวตามสามารถหมุนหรือขยับเคลื่อนที่เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนหรือเปลี่ยนทิศทางเพื่อทำให้เครื่องยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรมสามารถทำงานเพื่อการขนถ่ายลำเลียงวัสดุและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น

สำหรับการใช้งานสายพานแบนนั้น โดยทั่วไปแล้วสายพานแบนจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ตามความเร็วในการทำงานของสายพานแบน ได้แก่

  1. สายพานแบน Light Drives คือ สายพานแบนที่มีความเร็วของสายพานไม่เกิน 10 m/s จึงทำให้สายพานแบนประเภทนี้เหมาะสำหรับการนำใช้ในงานเบา ๆ ยกตัวอย่างเช่น การลำเลียงอาหารหรือบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เป็นต้น
  2. สายพานแบน Medium Drives คือ สายพานแบนที่มีความเร็วในการขับเคลื่อนสายพานอยู่ระหว่าง 10-22 m/s จึงทำให้เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้าต่าง ๆ ไปในทิศทางที่ต้องการ เป็นต้น
  3. สายพานแบน Heavy Drives คือ สายพานแบนที่มีความเร็วของสายพานมากกว่า 22 m/s โดยสายพานแบนประเภทนี้เป็นสายพานแบนที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้กับงานหนัก อย่างเช่น การนำมาใช้งานเพื่อการขับเคลื่อนเครื่องจักรอุตสาหกรรมหนัก เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของสายพานแบน

         สายพานแบนถือได้ว่าเป็นสายพานส่งกำลังประเภทแรกที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อการช่วยส่งกำลังและขับเคลื่อนเครื่องยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและปลอดภัย ส่งผลให้ลักษณะทั่วไปของสายพานแบนจึงถือได้ว่ามีความเรียบง่ายที่สุดเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสายพานส่งกำลังประเภทอื่น ๆ โดยสายพานแบนจะเป็นสายพานส่งกำลังที่มีลักษณะของพื้นผิวเรียบแบนทั้งสองด้าน และมีลักษณะพื้นที่หน้าตัดของสายพานแบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตสายพานแบนนั้นสามารถเป็นได้หลากหลายประเภททั้งผ้าใบ ยาง พลาสติก เหล็ก และเหล็กกล้าไร้สนิม (สแตนเลส) ขึ้นอยู่กับรูปแบบในการใช้งานและประเภทของเครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์ที่ต้องการนำมาใช้งานร่วมด้วย

         ยกตัวอย่างเช่น สายพานแบนที่ทำมาจากวัสดุประเภทเหล็กกล้าไร้สนิมหรือสแตนเลสส่วนใหญ่จะนิยมนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องจักรในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการลำเลียงอาหารไปเข้าสู่กระบวนการทอด อบ หรือนึ่ง เนื่องจากสายพานแบนที่ทำมาจากสแตนเลสสามารถทนทานต่อความร้อนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งพื้นผิวยังไม่เกิดการกัดกร่อนหรือเกิดสนิมที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนในระหว่างการประกอบอาหาร ในขณะที่สายพานแบนที่ทำมาจากวัสดุประเภทพลาสติกพีวีซี (PVC) ซึ่งจะเป็นวัสดุประเภทที่ไม่ทนทานต่อการเสียดสี หรืออุณหภูมิที่สูงเกินกว่า 120 องศาเซลเซียส จึงทำให้สายพานแบนจากพลาสติกพีวีซีได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานในการลำเลียงอาหาร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือสินค้าบรรจุหีบห่อที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา

คุณสมบัติสายพานแบน

         เนื่องจากสายพานแบนเป็นสายพานส่งกำลังที่ถูกนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์ต่าง ๆ ส่งผลให้สายพานแบนจึงจำเป็นที่จะต้องมีคุณสมบัติที่ดีในด้านของการทนทานต่อแรงดึง การทนทานต่อความร้อนหรือความเย็นที่ตัวสายพานแบนจะต้องสัมผัสในระหว่างกระบวนการผลิต และการทนทานต่อการเกิดไฟฟ้าสถิตที่อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงสายพานแบนยังต้องสามารถทนทานต่อน้ำมัน รวมไปถึงสารเคมีต่าง ๆ ทั้งสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นกรดและสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นด่างได้เป็นอย่างดี เพื่อช่วยให้สายพานแบนไม่ถูกกัดกร่อนทำลายจนทำให้ตัวสายพานแบนเกิดการเสื่อมสภาพหรือชำรุดเสียหายจนไม่สามารถนำมาใช้งานเพื่อส่งกำลังให้กับเครื่องจักรอุตสาหกรรมหรือเครื่องยนต์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

รูปแบบในการนำเอาสายพานแบนมาใช้งาน

         สายพานแบนเป็นสายพานส่งกำลังที่เหมาะสำหรับการนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลายในทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการนำเอาสายพานแบนมาใช้เป็นสายพานสำหรับลำเลียงกระสอบข้าวในโรงสี หรือการลำเลียงหัวมัน ข้าวโพด และอ้อยในอุตสาหกรรมการเกษตร การนำเอาสายพานแบนมาใช้ในการลำเลียงอาหารผ่านเตาอบ หรือเข้าสู่เตาทอดในอุตสาหกรรมอาหาร การนำเอาสายพานแบนมาใช้ในการลำเลียงชิ้นส่วน ส่วนประกอบ หรืออุปกรณ์ ภายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการนำเอาสายพานแบนมาใช้เป็นสายพานสำหรับขนถ่ายวัสดุหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในโกดังสินค้าหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

ข้อแนะนำในการใช้งานสายพานแบน

         เพื่อให้การใช้งานสายพานแบนเป็นไปได้อย่างราบรื่นไม่มีสะดุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการใช้งานสายพานแบนร่วมกับเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรอุตสาหกรรม ผู้ใช้งานสายพานแบนจึงจำเป็นที่จะต้องมีการติดตั้งสายพานแบนโดยการคล้องสายพานแบนเข้ากับลูกล้อของสายพานหรือพูลเลย์ทั้งในฝั่งของพูลเลย์ของเพลาขับและพูลเลย์ของตัวตามที่วางอยู่ในระนาบเดียวกันในระยะห่างที่เหมาะสมซึ่งไม่ควรเกิน 10 เมตร และไม่ควรใกล้กว่าระยะทางที่คิดเป็น 3.5 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของพูลเลย์ตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด พร้อมกันนี้ผู้ใช้งานยังควรปรับระดับความตึง-หย่อนของสายพานแบนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมกันนี้ยังควรปรับให้สายพานแบนด้านที่ตึงอยู่ด้านบน และสายพานแบนด้านที่หย่อนอยู่ด้านล่างเพื่อช่วยให้เนื้อสายพานสามารถสัมผัสกับพูลเลย์ได้มากขึ้น เพื่อการช่วยขับเคลื่อนเครื่องยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรมให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยที่ไม่ทำให้สายพานแบนเกิดปัญหาเกี่ยวกับเนื้อสายพานร้าว ท้องสายพานสึก ฟันสายพานสึก ฐานฟันร้าวหรือฟันรูด จนก่อให้เกิดปัญหาในด้านของการมีเสียงรบกวนในระหว่างการทำงาน หรือการทำให้สายพานแบนเกิดการเสื่อมสภาพจนไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพก่อนถึงระยะเวลาอันสมควร

บริษัท IMC 1994 จำกัด ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายอะไหล่สำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น สายพานส่งกำลัง (TRANSMISSION BELT) สายพานลำเลียง (CONVEYOR BELT) สายพานไทม์มิ่ง (สายพานราวลิ้น) สายพาน V BELT , TIMING BELT, สายพานพียูไทม์มิ่ง (PU TIMING BELT) สายพานกลม (ROUND BELT) สายพานแบน (FLAT BELT) ถุงลม อุตสาหกรรม (AIR SPRING) สายพานหน้าเครื่องและอะไหล่เครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์ครบวงจร จากแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก อาทิ Continental, BehaBelt, Elatech, Dayco ให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลายตามความต้องการ พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยตอบคำถามและข้อสงสัยเกี่ยวกับอะไหล่ต่าง ๆ ให้กับท่านตลอดเวลา

สนใจสั่งซื้อหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ติดต่อ IMC 1994 Co., Ltd.
Phone : +66 02 875 9700 (Auto)
LINE Official Account : @IMC.1994

Avatar Mobile
Main Menu x